การเรียนรู้และเข้าใจในงานสถาปัตยกรรมไทย
เพื่อ การออกแบบ และ การก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรมไทย
Thai ArchiCulture จะเป็นพื้นที่ ซึ่งจะพาทุกคนไปร่วมเรียนรู้ งานออกแบบ การก่อสร้าง สถาปัตยกรรมไทย ในแง่มุมต่างๆ ที่จะทำให้รู้จักกับมรดกทางวัฒนธรรมของชาติชนิดนี้กันอย่างง่ายๆ สบายๆ เพื่อเป็นการเปิดโลกแห่งการเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมสำคัญที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองและอารยธรรมสำคัญที่สุดชนิดหนึ่งของชาติ ซึ่งมีมาแต่อดีตอันยาวนานในดินแดนที่ปัจจุบันคือประเทศไทย และการสืบต่อของมรดกทางวัฒนธรรมนี้ก็ยังมีอยู่โดยไม่ขาดสาย จนกลายมาเป็น วัฒนธรรมไทย ในวันนี้ สนใจเนื้อหาส่วนใด ก็ตามไปอ่านตามประเด็นความรู้สำคัญด้านล่างนี้ได้เลย…
สถาปัตยกรรม คืออะไร(คลิกอ่าน)
สถาปัตยกรรม โดยความหมายแล้วคือ ศิลปวิทยาแห่งการก่อสร้าง (คำกล่าวของ อ.ดร.ประเวศ ลิมปรังษี ศิลปินแห่งชาติ) ในที่นี้ขออธิบายเพิ่มเติมว่า สถาปัตยกรรม นั้นประกอบด้วยส่วนสำคัญหลักๆ สองส่วนด้วยกันคือ ว่าด้วยเรื่องของศาสตร์ของการก่อสร้าง และ ศาสตร์ทางศิลปะ การที่อาคารซึ่งได้รับการออกแบบจะมีความสมบูรณ์จนถึงกับได้รับการยอมรับถึงคุณค่าทางการออกแบบได้นั้น จะประกอบด้วยอะไรบ้าง…
สถาปัตยกรรมไทย ความหมาย (คลิกอ่าน)
สถาปัตยกรรมไทย หมายถึง ศาสตร์และศิลป์แห่งการก่อสร้างที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมไทย เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งนั่นหมายถึงงานก่อสร้างที่มีองค์ประกอบสำคัญดังนี้คือ การใช้งานดี มีความมั่นคงแข็งแรง มีความงาม และมีบริบทแห่งวัฒนธรรมไทยเป็นแกนแห่งการสร้างสรรค์ รูปแบบ และลักษณะของตัวสถาปัตยกรรมมักจะเป็นด่านแรกที่เราจะได้เห็น แต่แท้จริงงาน สถาปัตยกรรมไทย ยังมีรายละเอียดที่ควรทราบอีกหลายส่วน
ความสำคัญและคุณค่าของศิลปกรรมในงาน สถาปัตยกรรมไทย (คลิกอ่าน)
สถาปัตยกรรมไทย แบบแผนประเพณี เป็นงานที่เรารู้จักคุ้นเคย ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ตกแต่งด้วยลวดลาย และองค์ประกอบอันเป็นศิลปกรรมชั้นสูง มีงานปราณีตศิลป์ของไทยประกอบอยู่ในงานสถาปัตยกรรมหลากหลายแขนง เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ช่างปั้น และอีกหลายหลายที่ไทยเราเดิมเรียกกันว่า “ช่างสิบหมู่”
สถาปัตยกรรมไทย ทุกคนที่ได้อ่านข้อมูลข้างต้นมาโดยตลอด และเดินตามทางที่เชิญชวนมาด้วยกันนี้ คงจะมีความเข้าใจในงานประเภทนี้มากขึ้นแล้ว และเชื่อว่าคงจะเห็นความสำคัญด้วยเช่นกัน การก่อรูปกอร่างจนปรากฏเป็นงานดังกล่าวนี้จึงไม่ใช่ของง่ายเลย เพราะต้องอาศัยเวลาอย่างมากในการสั่งสม พัฒนา สร้างสรรค์จนเป็นอัตลักษณ์เป็นที่จดจำของผู้คนทั่วโลกได้ในที่สุด และแน่นอนว่าภายใต้รูปลักษณ์ที่เห็นย่อมเปี่ยมด้วยคุณค่านานัปการซ่อนอยู่เบื้องหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานที่ได้ปรากฏตัวขึ้นนับร้อยๆปี มาแล้ว และจะยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก หากงานเหล่านั้นยังทอดตัวสืบต่อมาถึงปัจจุบัน
นอกเหนือจากความงามที่เราเห็นกันอย่างชัดเจนแล้ว เราเคยคิดกันไหมว่า ถ้างานสถาปัตยกรรมไทยเหล่านั้น ไม่มีลวดลายหรือศิลปกรรมประดับอยู่เลย จะเป็นอย่างไรกัน
สถาปนิกคือใคร (คลิกอ่าน)
สถาปนิก เป็นคำที่คนทั่วไปได้ยินและคุ้นหูอยู่ แต่ถ้าว่าโดยบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบแล้ว เชื่อว่ายังห่างไกลที่คนธรรมดาจะทราบถึง และยิ่งถ้าเป็นนักเรียนที่กำลังสนใจจะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ก็อาจจะมีภาพสวยๆ ว่าไปเรียนวาดภาพสวยๆ วาดบ้านเก๋ๆ แต่แท้จริง สถาปนิกเป็นวิชาชีพที่่ต้องสอบรับไปประกอบวิชาชีพ เช่นเดียวกับแพทย์ วิศวกร ซึง่นั่นหมายถึงมีความรับผิดชอบต่อผู้คนและสังคมอย่างมากวิชาชีพหนึ่ง การไปเรียนรู้ตามเว็บแล้วมาทำงานออกแบบไปเองนั้น จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้โดยหลักการ แล้วสถาปนิกในงาน สถาปัตยกรรมไทยล่ะ เป็นอย่างไร ต่างจากสถาปนิกทั่วไปมากน้อยแค่ไหน เรามาลองทำความรู้จักกับเขากัน..
สถาปัตยกรรมไทย กับ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น(คลิกอ่าน)
สถาปัตกยรรมไทย กับ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เหมือนหรือต่างกัน อะไรเป็นภาพรวมอะไรเป็นภาพย่อย สถาปัตยกรรมไทยเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไหม และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นล่ะเป็นสถาปัตยกรรมไทยไหม ถ้าเข้าใจว่าสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคืออะไร ก็จะเข้าใจในประเด็นที่ตั้งไว้ข้างต้น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับการออกแบบอย่างแน่นอน เพราะได้รับการตั้งชื่อขานนามไว้ว่าเป็นสถาปัตยกรรม ชนิดหนึ่ง ลองมาทำความเข้าใจสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีกหน่อย เพื่อให้เข้าใจและเห็นความเหมือนต่างของ สถาปัตยกรรมไทย กับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
สถาปัตยกรรมไทย มรดกภูมิปัญญาสร้างสรรค์(คลิกอ่าน)
สถาปัตยกรรม เป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่สำคัญของมนุษยชาติ เป็นเครื่องแสดงถึงอารยธรรมความเจริญของภูมิปัญญาสร้างสรรค์ที่ประจักษ์ชัด อันเก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งของมนุษย์นับแต่อดีตกาลนานมา เป็นสิ่งที่ แสดงให้เห็นถึงพลังความคิด ในการที่จะสร้างสภาพแวดล้อมของการอยู่อาศัยให้เหมาะสมกับบริบทรอบตัว นับแต่หน่วยย่อยที่สุดคือภายในพื้นที่อาศัยของตน จนไปถึงปฏิสัมพันธ์ของการอยู่อาศัยร่วมกันของผู้คนรอบตัว และทั้งนี้ ยังจะต้องเป็นการปรับเปลี่ยน ให้งานดังกล่าวมีความสอดคล้องไปกับ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ในแหล่งแห่งที่นั้นๆด้วย
รากฐานความคิดในงาน สถาปัตยกรรมไทย
สถาปัตยกรรมไทย เป็นงานที่ผู้คนอาจสงสัยว่าทำไม่ถึงมีรูปร่างหน้าตาแปลกจากอาคารบ้านเรือนอื่นๆ อีกทั้งศิลปกรรมที่ตกแต่งประดับประดาในงาน สถาปัตยกรรมไทย เหล่านั้น ก็น่าสนใจ ทั้งความงาม และโดยเฉพาะความหมายที่คนทั่วไปคงไม่อาจทราบได้ แท้จริงแล้วสิ่งที่ปรากฏในงานสถาปัตยกรรมไทย โดยเฉพาะงานในแบบราชประเพณี หรืองานช่างหลวง ล้วนแต่สร้างสรรค์ขึ้นบนรากฐานหรือปรัชญาทางความคิด เป็นกรอบสำคัญ เราจะค่อยๆ ทำความเข้าใจถึงหลักการดังกล่าวนั้น เพื่อที่จะได้สามารถชื่นชมคามงามได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น
(อยู่ระหว่างการจัดเตรียมข้อมูล)
การออกแบบ งานสถาปัตยกรรมไทย
งานสถาปัตยกรรมไทย จำพวกวัดวาอาราม หรือบ้านเรือนไทย เป็นงานที่ศาสตร์วิธี ในการออกแบบ มีครูที่สอนตามครรลอง มีแบบแผนทางความคิด มีทิศทางในการทำงาน การสร้างสรรค์ต่างๆ เกิดขึ้นได้ ไม่ซ้ำซากจำเจได้ วัดหลายแห่งที่อยู่รอบตัวเรา ล้วนมีโบสถ์ วิหาร การเปรียญ เช่นกัน แต่ทำไมเราเข้าไปในแต่ละวัดเหล่านั้น กลับรู้สึกถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้ อาทิ วัดโพธิ์ วัดอรุณ วัดสุทัศน์ วัดเบญจมบพิตร ฯลฯ ทั้งๆ ที่วัดเหล่าน้ันก็มีอาคารใช้งานในแบบเดียวกัน แต่พอได้เห็นวัดเหล่านั้นแล้ว กลับแตกต่างกันทั้งหมด แต่ความต่างนั้น ก็ล้วนอยู่ในความงาม ที่มีกรอบแบบแผนทางความคิด ที่ส่งให้งานเหล่านั้น มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมอย่างมาก ถ้าเป็นภาพวาดก็สมควรได้รับการแขวนไว้บนผนังพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของโลกได้เลย แต่ในอีกมุมหนึ่ง บางท่านก็อาจคิดว่ามันควรจะมีอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ บ้าง ออกนอกกรอบบ้าง ซึ่งบางครั้งการนอกกรอบก็อาจจะทะลุกรอบ หลุดจากหลักการอันจริงแท้ของการสร้างสรรค์งานประเภทดังกล่าวไปได้ เรื่องนี้คงต้องใช้เวลาในการพูดคุยกันอยู่สักหน่อย เพื่อทำความเข้าใจกันต่อไป
(อยู่ระหว่างการจัดเตรียมข้อมูล)
ปกิณกะความรู้อื่นๆ ในงาน สถาปัตกรรมไทย (คลิกอ่าน )
สามารถอ่านเพิ่มเติมใน ชวนคุยนานาสาระ โดยจะมีหัวข้อและประเด็นอันเกี่ยวเนื่อง กับงานสถาปัตยกรรมไทยในแง่มุมต่างๆ