ข้อมูลในส่วนนี้ เกิดขึ้นจากการยื่นขอเลื่อนขั้นระดับภาคีฯ เป็นระดับสามัญฯ ต่อสภาสถาปนิก โดยทางสภาสถาปนิกเห็นว่าผลงานออกแบบที่นำมายื่นยังไม่อยู่ในขอบเขตที่จะสามารถเลื่อนขั้นได้ จำเป็นต้องทำรายงานเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในงานสถาปัตยกรรมไทยให้มากขึ้น จึงให้ทำรายงานฉบับนี้ขึ้น เพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อนขั้น
ทั้งนี้สภาสถานปิกได้ให้ส่งรายงานสองครั้งนับจากที่ทำการสัมภาษณ์ หลังจากนั้นจึงผ่านการพิจารณา ใช้เวลาประมาณเกือบสองปี นับแต่ยื่นเรื่อง และทำรายงานส่งสองรอบจนได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นในที่สุด ขอขอบคุณสภาสถาปนิกมา ณ โอกาสนี้ด้วย
ผู้เขียนเห็นว่าข้อมูลที่นำเสนอดังกล่าว มาจากการค้นคว้า และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิในงานสถาปัตยกรรมไทยหลายท่าน ประกอบกับการร่วมเขียนหนังสือรวมผลงานของครูอาจารย์ในงานสถาปัตยกรรมไทย และรวมถึงหนังสือที่เคยเขียนมาหลายเอกสาร เพื่อใช้ประกอบการทำรายงานฉบับนี้ เชื่อว่าข้อมูลนี้จะเป็นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจในงานสถาปัตยกรรมไทยต่อไป

(หมายเหตุ : ข้อมูลตามสารบัญจะทยอยจัดทำและสามารถกดอ่านลิงค์ ในแต่ละหัวข้อต่อไป – เร็วๆ นี้)
สารบัญข้อมูล
ส่วนที่ 1 ความรู้เรื่องวัด (เนื้อเรื่องส่วนนี้กำหนดให้ทำโดยสภาสถาปนิก)
- วัดคืออะไร
- วัดแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
- วัดมีกี่เขตและแต่ละเขตมีอาคารสำคัญอะไรบ้าง ใช้งานอย่างไร
ส่วนที่ 2 พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของงานสถาปัตยกรรมไทยในปัจจุบัน (เนื้อเรื่องส่วนนี้ทางสภาสถาปนิกให้ผู้เขียนเลือกหัวข้อเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ขึ้นมาเอง โดยผู้เขียนมองว่าสถาปัตยกรรมไทยปัจจุบันมีพัฒนาการ ต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัย และอาจทำให้บางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนว่างานบางประเภทออกแบบไม่ได้ หรือสงวนไว้เฉพาะแต่สถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น)
- ความนำ
- พัฒนาการงานสถาปัตยกรรมไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
- บทบาทของพระมหากษัตริย์กับงานสถาปัตยกรรมไทยในปัจจุบัน
- พัฒนาการงานสถาปัตยกรรมไทยยุคสมัยสมเด็จครู
- พัฒนาการงานสถาปัตยกรรมไทย ผ่านการทำงานของสถาปนิกสถาปัตยกรรมไทย
- รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ
- ศาสตราภิชาน พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ
- อ.ดร.ประเวศ ลิมปรังษี ศิลปินแห่งชาติ
- รศ.ฤทัย ใจจงรัก ศิลปินแห่งชาติ
- อ.วนิดา พึ่งสุนทร ศิลปินแห่งชาติ
- ม.ร.ว.มิตรารุณ เกษมศรี ศิลปินแห่งชาติ
- พัฒนาการบนฐานการเรียนรู้อย่างเข้าใจในงานสถาปัตยกรรมไทย
- ปัจจัยของพัฒนาการงานสถาปัตยกรรมไทย
- ฐานานุศักดิ์ในงานสถาปัตยกรรมไทย กับกรณีศึกษาการออกแบบมณฑป
- มณฑปวัดสะแล่ง ( สถาปนิก : ศ.สมคิด จิระทัศนกุล )
- พระมหามณฑปวัดไตรมิตร (สถาปนิก : ศาสตราภิชาน พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ )
- มณฑปยอดเจดีย์วัดจันเสน (สถาปนิก : อ.วนิดา พึ่งสุนทร ศิลปินแห่งชาติ
- อุโบสถเจดีย์ วัดป่าธรรมคีรี (สถาปนิก : อ.วนิดา พึ่งสุนทร ศิลปินแห่งชาติ)
- วิหารหลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ (สถาปนิก : ประกิจ ลัคนผจง )
ข้อมูล : ประกิจ ลัคนผจง
ข้อมูลข้างต้น นำมาจากการทำรายงานเพิ่มเติม จากการส่งผลงานออกแบบเพื่อขอเลื่อนระดับวิชาชีพสถาปนิกจากชั้นภาคีไปเป็นชั้นสามัญ โดยยื่นเรื่องเสนอต่อสภาสถาปนิก เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2565 ได้รับการสอบสัมภาษณ์เดือนธันวาคม พ.ศ.2565 (สภาสถาปนิกให้ทำรายงานประกอบผลงานเพิ่มเติม ส่งรายงานครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ.2566 มีการขอให้แก้ไขรายงานและส่งใหม่อีกครั้งในเดือนเมษายน พ.ศ.2567) ได้รับพิจารณาเลื่อนขั้นพฤษภาคม พ.ศ.2567 และรับใบอนุญาต สิงหาคม พ.ศ.2567
TAG: